 |
ข้าวน้ำลึก |
กข19 |
หันตรา60 |
อยุธยา1 |
ปราจีนบุรี1 |
ปราจีนบุรี2 |
ข้าวขึ้นน้ำ
|
ตะเภาแก้ว161 |
นางฉลอง |
ปิ่นแก้ว56 |
พลายงามปราจีนบุรี |
เล็บมือนาง111 |
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
กข19 (RD19) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
คู่ผสม |
ไออาร์262 / ปิ่นแก้ว 56 |
ประวัติพันธุ์ |
ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไออาร์262 และพันธุ์ปิ่นแก้ว 56 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขนในปี พ.ศ.2512 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ BKN6986-147-2 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522 |
|
 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 130 เซนติเมตร |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 15 ธันวาคม |
|
กาบใบสีเขียวอ่อน ใบสีเขียว สั้นและกว้าง แตกกอดี รูปแบบทรงต้นดี รวงใหญ่ เมล็ดป้อม ร่วงง่าย |
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
ท้องไข่มาก |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.5 x 7.4 x 1.9 มิลลิเมตร |
|
ปริมาณอมิโลส 26 – 30 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง |
|
   |
ผลผลิต |
ประมาณ 570 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
ขึ้นน้ำและยืดตัวได้ดี เมื่อสภาพนาที่มีน้ำลึกประมาณ 1 เมตร |
|
้ผลผลิตสูง คอรวงยาว มีเมล็ดต่อรวงมาก |
|
ทนต่อสภาพน้ำท่วม เมื่อต้นข้าวจมอยู่ใต้ผิวน้ำไม่เกิน 50 เซนติเมตรได้ประมาณ 7 วัน |
|
มีความสามารถในการชูรวง และงอกรากที่ข้อใต้น้ำได้ดี และเมื่อมีการใส่ปุ๋ยก็จะทำให้ยืดปล้องได้ดียิ่งขึ้น |
|
ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล |
พื้นที่แนะนำ |
ฤดูนาปีของภาคกลาง ในบริเวณที่ลุ่มน้ำลึกประมาณ 1 เมตร |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
หันตรา 60 (Hantra 60) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
คู่ผสม |
ขาวนางเนย 11 / ซี4-63 |
ประวัติพันธุ์ |
ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ ขาวนางเนย 11 และ พันธุ์ ซี4-63 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2515 ปลูกคัดเลือก จนได้สายพันธุ์ SPR7270-18 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2530 |
|
 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 155 เซนติเมตร |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 – 25 ธันวาคม |
|
ใบแคบค่อนข้างยาว สีเขียวเข้ม รวงใหญ่ยาว ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดรูปร่างเรียวยาว |
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.7 มิลลิเมตร |
|
ปริมาณอมิโลส 25 – 26 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม |
ผลผลิต |
ประมาณ 425 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
เป็นพันธุ์ข้าวที่เหมาะสำหรับปลูกในท้องที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งมีระดับน้ำลึกสูงสุดไม่เกิน 100 เซนติเมตร และอัตราการเพิ่มระดับน้ำเป็นไปอย่างช้าๆ ประมาณ 1-5 เซนติเมตรต่อวัน |
|
คุณภาพเมล็ดดี ท้องไข่น้อย |
|
ทนแล้ง |
|
ต้านทานต่อโรคไหม้ |
|
มีความสามารถยืดปล้องได้ปานกลาง |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคใบขอบแห้ง |
|
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และแมลงบั่ว |
พื้นที่แนะนำ |
ที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่มีระดับน้ำสูงสุดไม่เกิน 100 เซนติเมตร และมีอัตราการเพิ่มของน้ำ เป็นไปอย่างช้าๆ ประมาณ 1 – 5 เซนติเมตรต่อวัน |
|
 |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
อยุธยา 1 (Ayutthaya 1) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
คู่ผสม |
อู่ตะเภา / ขาวดอกมะลิ 105 |
ประวัติพันธุ์ |
ได้จากการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยว ระหว่างข้าวขึ้นน้ำพันธุ์อู่ตะเภา กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา ใน พ.ศ.2528 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ HTAFR85035-B-R-R-7-9 |
|
  |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 142 - 223 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ) |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว 6-10 ธันวาคม |
|
ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว คอรวงยาว ระแง้ถี่ |
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
ระยะพักตัว ประมาณ 4 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.32 x 7.69 x 1.87 มิลลิเมตร |
|
ปริมาณอมิโลส 28.4 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน ค่อนข้างแข็ง |
ผลผลิต |
ประมาณ 546 กิโลกรัมต่อไร่ (น้ำลึก 100 เซนติเมตร) 842 กิโลกรัมต่อไร่ (น้ำลึก 25 เซนติเมตร) |
ลักษณะเด่น |
เป็นข้าวน้ำลึกที่มีรูปทรงต้นแบบใหม่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง |
|
มีความสามารถยืดปล้อง ทนน้ำท่วมและทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ปราจีนบุรี 2 ทนดินเปรี้ยว (pH 4.6 – 5.1) |
|
ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียว |
|
สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่น เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยจั๊บ |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและโรคใบสีส้ม ในสภาพเรือนทดลอง |
พื้นที่แนะนำ |
พื้นที่นาน้ำลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ที่น้ำแห้งนาประมาณต้นเดือนธันวาคม โดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สิงห์บุรี และลพบุรี |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
ปราจีนบุรี 1 (Prachin Buri 1) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
ประวัติพันธุ์ |
พ.ศ. 2519 สร้างคู่ผสมรวม โดยรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสมชั่วต่างๆ ที่เหลือจาก การปลูกทดสอบ ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ดีเด่น คือ SPR'76 Com3-5-2 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 |
|
  |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตร |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว 25 ธันวาคม |
|
ทรงกอตั้ง ลำต้นค่อนข้างแข็ง สีเขียว กาบใบและใบสีเขียว รวงยาว ระแง้ถี่ |
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.4 x 1.8 มิลลิเมตร |
|
ปริมาณอมิโลส 26-27 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง |
ผลผลิต |
ประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
คุณภาพการสีดี |
|
เป็นข้าวที่มีอมิโลสสูง แปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และแป้งได้ดี |
|
ต้านทานโรคไหม้ในระยะกล้า และค่อนข้างต้านทานโรคใบขีดโปร่งแสง |
|
ทนต่อสภาพจมน้ำ และขึ้นน้ำได้ปานกลาง |
|
ต้านทานหนอนกอ |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในสภาพเรือนทดลอง |
พื้นที่แนะนำ |
เขตที่ราบลุ่มน้ำลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีน้ำท่วมขังนาน 1 – 3 เดือน และน้ำแห้งในช่วงปลายเดือนธันวาคม |
|
  |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
ปราจีนบุรี 2 (Prachin Buri 2) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
คู่ผสม |
BKNFR80086 / HTAFR80038 |
ประวัติพันธุ์ |
ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง BKNFR80086 และ HTAFR80038 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา ในปี พ.ศ.2524 และปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ HTAFR81042-4B-7-1 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2545 |
|
 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 133 – 222 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ) |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว 18 – 25 ธันวาคม |
|
ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบธงยาวปานกลาง ค่อนข้างตั้งตรง ใบธงอยู่เหนือรวง คอรวงสั้น ใบสีเขียว ใบแก่ช้าปานกลาง เมล็ดร่วงปานกลาง |
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร |
|
ปริมาณอมิโลส 30.2 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง |
ผลผลิต |
ประมาณ 846 กิโลกรัมต่อไร่ ในสภาพน้ำลึก 25 เซนติเมตร และ 590 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระดับน้ำลึก 100 เซนติเมตร |
ลักษณะเด่น |
เป็นข้าวน้ำลึก ที่มีทรงต้นแบบใหม่ ต้นเตี้ย ฟางแข็งไม่ล้มง่าย ในสภาพนาที่มีระดับน้ำ ปกติ (25 เซนติเมตร) |
|
มีความสามารถในการยืดปล้องและทนน้ำท่วมได้ปานกลาง ในช่วงข้าวอายุ 30 – 40 วัน เหมาะสำหรับปลูกในนาน้ำลึกในภาคกลางและภาคตะวันออก |
|
ค่อนข้างทนทานต่อดินเปรี้ยว |
|
ต้านทานโรคไหม้และค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง |
|
สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่นเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม |
|
ไม่ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล |
พื้นที่แนะนำ |
พื้นที่ลุ่มภาคกลาง และภาคตะวันออกที่มีระดับน้ำไม่เกิน 100 เซนติเมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน น้ำแห้งนาประมาณกลางเดือนธันวาคม |
|
 |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
ตะเภาแก้ว 161 (Ta – pow Gaew 161) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
ประวัติพันธุ์ |
เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดปี พ.ศ.2498 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนได้สายพันธุ์ ตะเภาแก้ว 55-161 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 |
|
 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ลึกไม่เกิน 2 เมตร |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 9 ธันวาคม |
|
ลำต้นสูง ใบสีเขียวยาวแต่ค่อนข้างแคบ ลำต้น กาบใบและขอบใบสีม่วง แต่จะจางลงเมื่อระดับน้ำในนาสูงขึ้น และข้าวโตขึ้นจนถึงระยะออกรวง สีม่วงจะจางหายไป แตกกอปานกลาง เมล็ดยาวเรียว |
|
ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ท้องไข่น้อย |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.5 x 7.2 x 1.7 มิลลิเมตร |
|
ประมาณอมิโลส 30-32% |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง |
ผลผลิต |
ประมาณ 350 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
อายุเก็บเกี่ยวเหมาะกับสภาพนาข้าวขึ้นน้ำที่น้ำแห้งเร็ว |
|
ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล |
|
ขึ้นน้ำได้ดีปานกลาง |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคใบหงิก |
|
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว |
พื้นที่แนะนำ |
พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง |
|
 |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
นางฉลอง (Nahng Cha – lawng) |
ชนิด |
ข้าวเหนียว |
ประวัติพันธุ์ |
ได้จากการรวบรวมจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง โดยเจ้าหน้าที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2497 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ลึกไม่เกิน 150 เซนติเมตร |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน |
|
ลำต้นสูง กาบใบสีเขียวจาง ใบสีเขียว ใบยาวและกว้าง สามารถยึดปล้องปานกลาง ข้อปล้องส่วนกลางและปลายของต้นยาว มีรากออกจากข้อที่อยู่ในน้ำเหนือผิวดิน |
|
ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดร่วงง่าย |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 7.3 x 1.9 มิลลิเมตร |
|
คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม |
|
  |
ผลผลิต |
ประมาณ 394 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม |
|
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว |
พื้นที่แนะนำ |
พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
ปิ่นแก้ว 56 (Pin Gaew 56) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
ประวัติพันธุ์ |
เป็นข้าวที่ชนะการประกวดในปี พ.ศ.2498 จึงได้นำรวงมาปลูกแบบรวงต่อแถวแล้ว คัดเลือกรวงที่ดีที่สุด ไปปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าว แล้วนำไปปลูก เปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่น คัดได้สายพันธุ์ที่ 56 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 |
|
 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ในระดับน้ำไม่เกิน 5 เมตร |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 29 ธันวาคม |
|
ลำต้นสูง ใบยาวสีเขียว ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน แตกกอปานกลาง มีความสามารถในการขึ้นน้ำได้ดี เหมาะที่จะปลูกในที่นาลุ่ม ระดับน้ำลึกประมาณ 1- 4 เมตร และน้ำแห้งช้า |
|
ข้าวเปลือกสีฟาง |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตร |
|
ปริมาณ อมิโลส 23 – 31 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง |
ผลผลิต |
ประมาณ 362 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
มีความสามารถในการแตกแขนง และแตกรากที่ข้อเหนือผิวดินในน้ำ และมีการชูรวงดี |
|
คุณภาพการสี ข้าวสารใสแกร่ง |
|
ทนน้ำลึกได้ดี (ไม่เกิน 5 เมตร) |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคกาบใบเน่า โรคใบหงิก |
|
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลิ้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอ และแมลงบั่ว |
|
ผลผลิตค่อนข้างต่ำ |
|
  |
พื้นที่แนะนำ |
พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
พลายงามปราจีนบุรี (Plai Ngahm Prachin Buri) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
ประวัติพันธุ์ |
เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้จากการเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ โดยนายเพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี จากตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2523 ปลูกคัดเลือกแบบหมู่ จนได้พันธุ์บริสุทธิ์ |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537 |
|
 |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวขึ้นน้ำพันธุ์พื้นเมือง สูงประมาณ 240 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ) |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 ธันวาคม |
|
ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว ระแง้ถี่ การชูรวงดี |
|
เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร |
|
มีท้องไข่ปานกลาง |
|
ปริมาณอมิโลส 27 – 28 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง |
ผลผลิต |
ประมาณ 380 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
ขึ้นน้ำได้ดี ในระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร และท่วมขังนานกว่า 1 เดือน |
|
ทนแล้งได้ดี |
|
ต้านทานโรคไหม้ ในระยะกล้าดี |
|
แปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณภาพดี มีความนุ่มเหนียว |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานต่อโรคใบหงิก โรคใบสีส้ม |
|
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว |
พื้นที่แนะนำ |
พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีระดับน้ำลึกมากกว่า 1 เมตร ท่วมขัง เป็นเวลานาน ตั้งแต่ 1 เดือน และน้ำแห้งนาปลายเดือนธันวาคม |
|
 |
|
|
 |
ชื่อพันธุ์ |
เล็บมือนาง 111 (Leb Meu Nahng 111) |
ชนิด |
ข้าวเจ้า |
ประวัติพันธุ์ |
ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองโดยนายสุรศักดิ์ แสงสวาสดิ์ จากอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ปี พ.ศ.2493 จำนวน 127 รวง ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คัดได้สายพันธุ์ เล็บมือนาง 14 – 12 – 111 |
การรับรองพันธุ์ |
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 |
|
   |
ลักษณะประจำพันธุ์ |
เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ในน้ำลึกไม่เกิน 4 เมตร |
|
ไวต่อช่วงแสง |
|
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 19 ธันวาคม |
|
ลำต้นสูง แตกกอปานกลาง ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน ใบกว้างและยาวสีเขียว รวงใหญ่ เมล็ดร่วงง่าย มีความสามารถยืดตัวตามน้ำได้ ชูรวงดี |
|
เมล็ดข้าวเรียวยาว |
|
ข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่ค่อนข้างมาก |
|
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ |
|
เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.1 x 1.7 มิลลิเมตร |
|
ปริมาณอมิโลส 29 – 32 % |
|
คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง |
ผลผลิต |
ประมาณ 328 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น |
ขึ้นน้ำได้ดี ชูรวงดี |
|
ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยวได้ดี |
|
ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล |
ข้อควรระวัง |
ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม |
|
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว |
พื้นที่แนะนำ |
พื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง |
|
 |
|